สัญญาการก่อสร้าง และขอบเขตการดำเนินการ ของ รถไฟฟ้าเอราวัน

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการ โดยสัมปทานเป็นของ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด[4]) อันเป็นนิติบุคคลร่วมค้าเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน จากประเทศจีน โดยกลุ่มผู้รับสัมปทานจะต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาโครงการ และจะมีสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการตามไปด้วย โครงการมีระยะเวลาของสัญญาสัมปทานที่ 50 ปี แบ่งเป็นระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการ การปรับปรุงสถานีเดิม และการพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 5 ปี หรือมากกว่า และระยะเวลาในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ 45 ปีหลังเริ่มดำเนินการรถไฟความเร็วสูงเชิงพาณิชย์ โดยมีรายละเอียดเนื้องานดังต่อไปนี้

ลำดับที่เนื้องาน
ขอบเขตที่ 1.ก - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธาที่เกี่ยวกับรถไฟ ก่อสร้างงานโยธาที่เกี่ยวข้องกับรถไฟร่วม และงานระบบเครื่องกล ไฟฟ้า และระบบรถไฟฟ้า
ก.1งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างทางยกระดับทั้งโครงการ ระยะทาง 220 กม. (136.7 ไมล์)
ก.2งานออกแบบควบคู่ก่อสร้างและปรับปรุงสถานีรถไฟฟ้า 15 สถานี แบ่งเป็น
(ก) งานออกแบบควบคู่การปรับปรุงสถานีเดิม 8 แห่ง และงานออกแบบควบคู่การปรับปรุงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการรถไฟความเร็วสูงที่สถานีกลางบางซื่อ
(ข) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างสถานีใหม่ 6 แห่ง ได้แก่ สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา
ทั้งคู่ให้รวมงานปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบสถานี และก่อสร้างอาคารจอดแล้วจร (ถ้ามี)
ก.3งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางรถไฟร่วม แบ่งเป็น
(ก) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงบางซื่อ - สวรรคโลก - กำแพงเพชร 5 ระยะทาง 4.8 กม. (2.98 ไมล์) ของทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วง บางซื่อ - มักกะสัน - หัวหมาก และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ - หัวลำโพง
(ข) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างทางยกระดับ ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. (13.55 ไมล์) ให้รองรับการการเดินรถในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ (กรุงเทพ - พิษณุโลก - เชียงใหม่) และรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ - นครราชสีมา - หนองคาย)
ก.4งานก่อสร้างและปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ 2 แห่ง แบ่งเป็น
(ก) งานปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงซอยศูนย์วิจัย (คลองตัน) เดิม ให้รองรับการซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูง
(ข) งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ฉะเชิงเทรา ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ก.5งานก่อสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย 1 แห่ง
ก.6งานจัดหาระบบอาณัติสัญญาณ ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ระบบโทรคมนาคมและสื่อสาร ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ช่วยให้การเดินรถมีประสิทธิภาพ
ก.7งานจัดหาระบบรถไฟฟ้า แบ่งเป็น
(ก) ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่รองรับความเร็วในการเดินทางสูงสุดที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
(ข) ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสำหรับเดินรถช่วงในเมือง ความเร็วในการเดินทางสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
(ค) จัดหาขบวนรถให้เหมาะสมกับการดำเนินการทั้งโครงการ
ก.8งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ช่วยให้การเดินรถมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตที่ 1.ข - งานการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา
ข.1งานเดินรถไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 45 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟท. กำหนดให้มีการเดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ โดยให้ยกเว้น
(ก) การเดินรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท - สุวรรณภูมิ กำหนดให้เข้าเดินรถได้ทันทีหลังชำระค่าระบบอาณัติสัญญาณและล้อเลื่อน โดยให้รอหมายแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจาก รฟท. หลัง รฟท. ดำเนินการบอกเลิกสัญญาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และการโฆษณาบนพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า
(ข) การเดินรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง กำหนดให้เข้าเดินรถได้หลัง รฟท. กำหนดให้มีการเดินรถส่วนต่อขยายอย่างเป็นทางการ
ข.2งานจัดการระบบเดินรถไฟฟ้าที่ศูนย์ควบคุมกลาง
ข.3งานจัดการรถไฟ
ข.4งานจัดการพื้นที่สถานี
ข.5งานซ่อมบำรุงรถไฟ
ข.6งานจัดเตรียมอะไหล่สำหรับซ่อมบำรุงรถไฟตามกำหนด
ขอบเขตที่ 2 - งานพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ
2.กงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่สถานีมักกะสันของ รฟท. จำนวน 150 ไร่
กำหนดให้มีพื้นที่ทุกอาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 850,000 ตารางเมตร และมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท
2.ขงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่สถานีศรีราชาของ รฟท. จำนวน 25 ไร่
กำหนดให้มีพื้นที่ทุกอาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 20,000 ตารางเมตร และมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท
ขอบเขตที่ 3 - งานดำเนินการเชิงพาณิชย์
3.กงานดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์ รวมถึงจัดเก็บค่าโดยสาร จัดเก็บรายได้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากพื้นที่สถานี ภายนอก และภายในขบวนรถไฟฟ้า ทางเชื่อมต่อกับอาคารอื่น ๆ และการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

ภายใต้สัญญาว่าด้วยความเข้าใจภายในกลุ่ม กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร แต่ละบริษัทจะมีขอบเขตและหน้าที่การดำเนินงานต่อไปนี้

  • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด : จะเป็นผู้นำการประมูล ผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดภายในโครงการ และจะเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามสถานีรายทาง บริเวณที่ดินมักกะสันคอมเพล็กซ์แปลง A และบริเวณที่ดินสถานีศรีราชา
  • บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) : จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาทั้งโครงการ รวมงานปรับปรุงโครงสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เดิม
  • ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน : จะเป็นผู้ออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมโดยรวมให้กับโครงการ และเป็นผู้จัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าให้กับโครงการ
  • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) : จะเป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการ

ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา

ผู้รับเหมาก่อสร้าง
  • บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด
  • Ferrovie dello Stato Italiane
บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้างที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม
  • บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
  • บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการเงิน

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล